Description
เครื่องผสมสัญญาณเสียง ระบบอนาล็อก SOUNDCRAFT EFX8 อนาล็อก มิกเซอร์ ขนาดคอมแพ็ค 8 ชาแนล พร้อมเอฟเฟ็คในตัว จากแบรนด์ SOUNDCRAFT
มิกเซอร์ 8 ชาแนล Mic / Line
2 ช่องสเตอริโออินพุท รองรับ เครื่องเล่น ดีวีดี ซีดี และซอสเสียงอื่นเป็นต้น
ชาแนลที่ 1-8 สามารถปรับ EQ 3 แบนด์ และสวีฟความถี่เสียงกลางได้
บิวท์อินเอฟเฟค คุณภาพสูง จาก Lexicon ดีเลย์ รีเวิร์ป เฟรงเจอร์ เป็นต้น
Phantom +48v ไฟแฟนทอมสำหรับเลี้ยงวงจรไมค์ Condenser เช่น ไมค์สำหรับห้องบันทึกเสียง ไมค์จ่อเครื่องดนตรี เช่น ไมค์จ่อ Hi-Hat กลองชุด เป็นต้น
SOUNDCRAFT EFX8
Low-cost, high-performance Lexicon® effects mixers
เหมาะสำหรับ:
Houses of Worship
Music Venues
Musicians & Bands
Theatres
คุณสมบัติ
EFX-8
8+2 and 12+2 channel frame sizes
Built-in 24 bit Lexicon digital effects processor
32 FX settings
Tap Tempo and FX setting store function
1 FX send on each channel
1 configurable auxiliary bus
XLR-type and ¼” metal jack connector sockets
RCA phono stereo playback inputs and record outputs
3-band EQ with a swept mid on mono inputs
3-band EQ on stereo inputs
TRS insert sockets and inserts on all mono inputs
Ten-segment LED output metering
Intuitive and comprehensive solo system
Headphone output
Easily rack mountable
Custom Karaoke preset
การใช้งาน
การใช้งาน
ชาแนลที่ 1-8 เริ่มจากด้านบนลงมาครับ
ช่องไมค์ แจ๊คแบบ XLR เหมาะสำหรับใช้ไมโครโฟนมาเสียบอินพุทเข้า
ช่องถัดลงมา ช่อง Line เหมาะสำหรับนำเครื่องดนตรี เครื่องกำเนิดเสียงต่างๆเช่น ดีวีดี ซีดี โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น แจ๊คแบบ TS 6.3 mm (หรือ โฟนโมโน)
ช่องถัดลงมา ช่อง Insert ช่องนี้สำหรับนำเครื่องปรับแต่งเสียงแต่ละชาแนล เช่นนำ เครื่องมัลติเอฟเฟค หรือเครื่องโปรเซสเซอร์อื่นๆ มาปรับแต่งเฉพาะชาแนลนั้นๆ ผลที่ได้ก็คือ จะได้คุณภาพเสียงเฉพาะส่วนตัวในชาแนลนั้นๆ แจ็คจะเป็นแบบ TRS 6.3 mm.
ปุ่มถัดลงมา ปุ่มสีแดง GIAN ปุ่มนี้สำหรับปรับสัญญาณขาเข้าให้เหมาะสมเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่มีคุณภาพ ไม่เบาหรือดัง จนแตกพร่า
หากเป็นไมโครโฟนส่วนมากจะหมุนปุ่มนี้ไปที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกาเป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับความไวของไมโครโฟนด้วยส่วนหนึ่ง
หากเป็นเครื่องดนตรีหรือเครื่องเล่น ดีวีดี ซีดี ก็ให้ปรับลดหลั่นลงมา ต่ำกว่า 12 นาฬิกา เนื่องจากสัญญาณจากเครื่องกำเนิดเสียงเหล่านี้จะมีการขยายสัญญาณในตัวส่วนหนึ่ง หากปรับแรงกว่านี้ ก็จะทำให้สัญญาณเสียงแตกพร่าได้
สี่ปุ่มถัดลงมา (สีดำ) คือปุ่มปรับโทนเสียง ทุ้มกลางแหลม ปุ่มสีขาวคือปุ่มปรับกวาดความถี่เสียงกลางให้เพิ่มประสิทธิภาพอีกที สามารถปรับตามความเหมาะสมและความพอใจ
ปุ่มถัดลงมา ปุ่มสีเขียว AUX 1 out ใช้งานสำหรับปรับเพื่อให้ได้ยินเสียงของตัวเองและเสียงอื่นๆ ในกรณีส่งสัญญาณเสียงออกไปหาลำโพงมอนิเตอร์
ส่วนมาก นักร้อง นักดนตรี ที่ต้องการได้ยินเสียงตัวเอง โดยในมิกเซอร์ก็จะมีช่องต่อออกไปใช้งาน คือ Aux out (ในกรณีไม่ได้ต่อใช้งาน Aux out ปุ่มนี้จะไม่มีผลในการปรับเสียง)
ปุ่มถัดลงมา FX สีม่วงอ่อน สำหรับปรับความดังของเอฟเฟคของแต่ละชาแนล โดยปุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับสไลด์เฟดเดอร์ Effects สีม่วง ถ้าปุ่มหรือสไลด์อันใดอันหนึ่งไม่เปิดขึ้นเสียงเอฟเฟคก็จะไม่ออก
ปุ่มสีเหลืองถัดลงมา ปุ่มสำหรับจับมิติซ้ายหรือขวาของดนตรี ปรับไว้ตรงกลาง เสียงจะออกบาลานซ์ ซ้ายและขวาตรงกลาง หากหมุนปุ่มนี้ไปด้านไดด้านหนึ่ง เสียงก็จะถ่ายน้ำหนักไปตามฝั่งที่เราหมุนไป ประโยชน์สำหรับการทำไลท์ซาวด์หรือบันทึกเสียง จะใช้ปุ่มนี้เพื่อบาลานซ์เสียงซ้ายและขวาเพื่อให้มิติดูกว้าง เต็มเวที เสียงจะไม่กระจุกอยู่ตรงกลาง
ปุ่มสี่เหลี่ยมสีขาว PFL ของแต่ละช่อง กดปุ่มนี้เพื่อเช็คสัญญาณเสียงเราสามารถรับฟังสัญญาณเสียงที่เราต้องการ ผ่านช่องหูฟัง (ที่มีรูปหูฟัง)โดยการเสียบหูฟัง ก่อนจะปล่อยเสียงออกลำโพงหลัก
ปุ่มสี่เหลี่ยมสีแดง Mute กดปุ่มนี้เพื่อต้องการหยุดเล่นชั่วคราว ของแต่ละช่อง เมื่อกดปุ่มนี้สัญญาณเสียง เช่นไมค์ที่กำลังพูดอยู่ ก็หยุดการทำงานเป็นต้น
ถัดลงมาคือ วอลลุ่มสไลด์เฟดเดอร์ เลื่อนขึ้นความดังเสียงจะเพิ่มขึ้นลดลงความดังจะลดลง ซึ่งชาแนลที่ 1-8 จะเป็นสีขาว
ส่วนสีน้ำเงิน จะเป็นวอลลุ่มสไลด์ความดังของ STE1 และ STE2 (ย่อมาจากช่องสเตอริโอ 1 และ 2 นั่นเองครับ) ช่องนี้ไว้รองรับ แหล่งกำเนิดเสียงเช่น เครื่องเล่น ดีวีดี ซีดี คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น
สีม่วงคือวอลลุ่มสไลด์ควบคุมความดังเอฟเฟคในเครื่องนี้ ทำงานเป็นมาสเตอร์เอฟเฟค โดยแต่ละช่องหรือชาแนลจะมีปุ่มสีม่วงอยู่ การทำงานจะต้องเลื่อนสไลด์หรือหมุนวอลลุ่มในแต่ละช่องที่ต้องการขึ้น ตามความต้องการเสียง เอฟเฟค เอคโค่
วอลลุ่มสไลด์ต่อมาสีเหลือง 2 อัน อันนี้คือ มาสเตอร์วอลลุ่มควบคุมความดังทั้งระบบ หากวอลลุ่มสีเหลืองนี้ไม่ถูกสไลด์ขึ้น นั่นแสดงว่าวอลลุ่มช่องอื่นก็จะไม่มีผลในการลดหรือเพิ่มเสียง การใช้งานคือดันสไลด์มาสเตอร์นี้ ไปที่ 0 dB (เลข 0 )
การต่อใช้งานไปยังเครื่องขยายเสียง
มิกทุกยี่ห้อจะมี อินและเอ้าท์ หมายถึง จะมีช่องรับอุปกรณ์เสียงจากภายนอกมาต่อเข้า และจะมีช่องต่อสัญญาณออกไปหาเครื่องขยายเสียง อยู่แล้ว ซึ่ง ช่องเอ้าท์พุทของมิกเซอร์ยี่ห้อนี้จะเป็นแบบ XLR ที่อยู่ตำแหน่งขวามือมุมด้านบน ( Mix L,Mix R )
(ช่องที่อยู่ด้านบนช่อง Mix L,R ที่เขียนว่า Insert ช่องนี้หมายถึง การนำ โปรเซสเซอร์เช่น อีคิว คอมเพรสเซอร์ มาต่อเพื่อปรับเสียงทั้งระบบ แจ็คเป็นแบบ TRS 6.3 mm หรือ โฟนสเตอริโอ )
แจ็คคขาวแดง 4 อันที่เขียนว่า 2TK in ( L,R ) และ REC out ( L,R )
( แจ็คคแบบนี้เรียกว่า อาร์ซีเอ แจ็ค )
REC out ( L,R ) นำสายสัญญาณมาต่อออกเพื่อไปบันทึกเสียงผ่านเครื่องบันทึกเสียง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องบันทึกเสียงอื่น เป็นต้น บันทึกเสียงอะไร ก็บันทึกเสียงร้องเสียงพูดเสียงดนตรีที่เราเล่น ที่เราต้องการ เพื่อมาเก็บมาเปิดฟัง หรือ จุดประสงค์อื่นที่ต้องการ รูปแบบเสียงที่บันทึกจะเป็นแบบ สเตอริโอ ซ้ายและขวา
2TK in ( L,R ) คือเมื่อเราบันทึกผ่านเครื่องบันทึก เราสามารถนำสัญญาณย้อนกลับมาเสียบเข้าที่ช่องนี้ เพื่อเปิดฟัง นั่นเอง แสดงว่าหลังเครื่องบันทึกก็จะมีช่อง เอ้าท์พุท เพื่อต่อสัญญาณเสียงออกมา ได้เช่นกัน
Fx Bus Out ช่องนี้สำหรับเครื่องเอฟเฟค เอคโค่ จากภายนอก ในกรณีเราต้องการเสียงเอฟเฟค เอคโค่ นอกเหนือที่มีอยู่ในเครื่องที่มีอยู่แล้วเพิ่มเติม
ต่อใช้งานอย่างไร ?
ต่อแจ็คโฟน ออกไปยังเครื่อง เอฟเฟค เอ็คโค่ที่ต้องการ ไปเข้าช่อง อินพุท ( L ) หลังจากนั้น ต่อเอ้าพุทจาก เครื่องเอฟเฟค เอคโค่ L และ R มาเข้าช่องชาแนล STEREO RETURN หรือ ช่องสเตอริโอ 1 และ 2 ก็ได้เช่นกัน เท่านี้เราก็จะสามารถปรับใช้งานเอฟเฟค เอคโค่ ก็ได้ตามใจชอบ เทคนิคง่ายๆ ต่อเข้าช่องใหน ดันสไลด์ช่องนั้นขึ้นด้วย มิเช่นนั้นเสียงก็จะไม่ออกนั่นเองครับ
Foot switch ปุ่มสำหรับนำอุปกรณ์ เปิดและปิดเสียงทางเท้า มาต่อร่วมใช้งาน จุดประสงค์เพื่อกดติดปล่อยดับ เอฟเฟคในตัวเครื่อง ประโยชน์ เช่น นักดนตรี ที่ต้องการ ใช้เอฟเฟคบางช่วงเวลา เป็นต้น
Monitor out สำหรับต่อไปหาลำโพงมอนิเตอร์สำหรับฟังเสียง เช่น งานในสตูดิโอ เป็นต้น
Mono Out สำหรับต่อสัญญาณออกไปใช้งานอื่น เช่น ไปเข้าเครื่องขยายเสียง เพื่อต่อลำโพงที่ต้องการกระจายเสียงบางจุด ที่ต้องการ เอ้าท์พุทจะเป็นแบบ โมโน 1 ช่อง